• ขนาดตัวอักษร:
  • การแสดงผล: C C C
thai flag
ไทย
EN

กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม

Department of Corrections

thai flag
ไทย
EN
20 พฤษภาคม 2025
17:30 น.
โดย
ประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์
20 พฤษภาคม 2025
17:30 น.
โดย
ประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์
👉 วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 ณ เรือนจำกลางนครราชสีมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด
“โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการอุทธรณ์ ฎีกาคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง สำหรับเจ้าพนักงานเรือนจำ” โดยมีนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายกฤตภพ จันทร์ภูโดม ผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครราชสีมา นางสาววริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองกฎหมาย คณะผู้บัญชาการเรือนจำเขต 3 อาจารย์นาตาชา วศินดิลก ผลพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองกลาง เข้าร่วมในโครงการดังการ
👍 การจัดโครงการในครั้งนี้ ถือเป็นการนำบุคลากรระดับสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสุดท้าย ผู้มีบทบาททั้งในทางปฏิบัติและเชิงนโยบาย ในการดูแล กำกับ และยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการเรือนจำของประเทศให้ตั้งอยู่บนหลักแห่ง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และหลักนิติธรรม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อวางรากฐานให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทุกระดับ โดยเฉพาะระดับผู้บริหาร ได้มี ความเข้าใจในบทบาทของเรือนจำในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม มิใช่เพียงสถานที่ควบคุมผู้ต้องขัง
ทั้งนี้ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ประเทศไทยมีผู้ต้องขังรวม 290,184 ราย ในจำนวนนี้มีถึง 76,096 ราย ที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งหมายความว่า เกือบหนึ่งในสี่ของผู้ถูกควบคุมตัวยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด และยังถือว่าเป็น “ผู้บริสุทธิ์” ตามหลัก รัฐธรรมนูญ มาตรา 29
“ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และจะปฏิบัติเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” หากยึดหลักนี้อย่างจริงจัง หน่วยงานราชทัณฑ์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมบุคคลในระหว่างพิจารณาคดี ต้องมีภารกิจสำคัญในการประกันว่า ผู้ต้องขังจะได้รับสิทธิต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียม หรือแม้กระทั่งดีกว่า บุคคลที่อยู่ภายนอกเรือนจำ ซึ่งหมายรวมถึง
• การเข้าถึงทนายความ
• การเข้าใจขั้นตอนและระยะเวลาทางกฎหมาย
• การใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ ฎีกา อย่างถูกต้องและทันเวลา
โดยเฉพาะใน ชั้นอุทธรณ์และฎีกา ซึ่งเป็นการพิจารณาบนพื้นฐานของ “ข้อกฎหมาย” มิใช่ “ข้อเท็จจริง” ผู้ต้องขังจำนวนมากจึงมักเสียเปรียบ หากไม่ได้รับการสนับสนุนหรือมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเพียงพอ
กระทรวงยุติธรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ใช้อำนาจรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ มาตรา 31 ประกาศกระทรวงยุติธรรมเรื่อง การจำแนกประเภทหรือชั้นของเรือนจำ ข้อ 7 จัดให้มีเรือนจำสำหรับคุมขังผู้ต้องขัง และคนฝาก เพื่อจัดกลไกลที่สำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ต้องขังระหว่าง ทุกคน
ปัญหาความยุ่งยากในการจัดทำคำอุทธรณ์และฎีกา มักเกิดจากหลายปัจจัยที่ซับซ้อน ได้แก่
1. ความยุ่งยากในเชิงกฎหมาย: ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านกฎหมาย และประเด็นฎีกาที่ถูกจำกัด
2. ความยุ่งยากในเชิงกระบวนการ: ต้องขออนุญาตฎีกาในบางคดี ระยะเวลายื่นจำกัด และข้อจำกัดด้านข้อมูล
3. ความยุ่งยากเชิงโครงสร้างและบุคลากร: ภาระงานมาก และขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
4. ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรม: ผู้ต้องขังไม่เข้าใจสิทธิของตน และการส่งข้อมูลจากเรือนจำล่าช้า
รัฐธรรมนูญ มาตรา 40 ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง”
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ได้จัดวางกลไกที่ชัดเจน เช่น
• มาตรา 31 ให้อำนาจรัฐมนตรีในการจำแนกเรือนจำตามสถานะของผู้ต้องขัง
• มาตรา 40-41 วางระบบแยกคุมขังตามพฤติการณ์
โครงการในวันนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1. พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการอุทธรณ์ ฎีกา ทั้งในคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง
2. เสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการอธิบายสิทธิและขั้นตอนทางกฎหมายให้ผู้ต้องขังเข้าใจ
3. สร้างมาตรฐานการปฏิบัติที่เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องขังตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

Related Posts

17 ก.ค.
2025
กรมราชทัณฑ์ จัดการประกวด Fruity Fusion Mocktail Contest (การผสมเครื่องดื่มแบบไม่มีแอลกอฮอล์)
17 กรกฎาคม 2025
16:10 น.
17 ก.ค.
2025
กรมราชทัณฑ์ เข้าร่วมพิธีปฏิบัติการกวาดล้างยาเสพติด NO Drugs NO Dealers ผนึกกำลัง ชุมชนปลอดยาเสพติด
17 กรกฎาคม 2025
16:05 น.
17 ก.ค.
2025
กรมราชทัณฑ์ จับมือ บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด และ บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด ร่วมทำบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการส่งเสริมช่องทางจำหน่าย และผลักดันผลิตภัณฑ์จากฝีมือผู้ต้องขังสู่ Online Marketplace”
17 กรกฎาคม 2025
16:00 น.